วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความหมายของการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
      การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
      1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
      2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่
     1. บรรลุเป้าหมายของงาน
     2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน
     3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ
     4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน 
การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
    (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
    (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
    (3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
    (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
    (5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
    (6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
        โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
    (1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม
    (2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ
    (3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ
    (4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง         เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย
ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา
งาน พัฒนางาน
คน พัฒนาคน
องค์กร เป็นองค์กรการเรียน

ส่วนประกอบของ Blog




ส่วนประกอบของ Blog


1.ชื่อบล็อก (ฺBlog Title) 
ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อของบล็อกนั้น ๆ 

2.วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)
เป็นวันที่ และมีเวลากำกับอยู่ด้วยตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไห ร่ 

3.ชื่อบทความ (Entry Title)
ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก

4.ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body) 
อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรือแอนิเมชั่น โดยส่วนประกอบ เหล่านี้จะรวมเป็นเนื้อหาของบทความ

5.คอมเม้นต์ (Comment tag)
เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอก คอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่าน คอมเม้นต์ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา

6.ปฏิทิน (Calendar)
บล็อกบางแห่งอาจมีปฏิทินอยู่ด้วยโดยใน ปฏิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่เพื่ออ่าน บทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวก

7.บทความย้อนหลัง (Archives)

บทความเก่า หรือบทความย้อนหลังอาจมี การจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อกโดยบล็อก แต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลังไม่ เหมือนกันเช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้

บทความที่เกี่ยวกับ KM

แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (KM)
1.การจัดการความรู้ (กพร.) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถแบ่งกระบวนการจัดการความรู้ได้ 7 กระบวนการ
     1. การบ่งชี้ความรู้ ค้นหาว่ามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในองค์กร แล้วพิจารณาว่าความรู้นั้นเป็นรูปแบบใด อยู่ที่ใครหรือความรู้อะไรบ้างที่องค์กรจำเป็นต้องมี จัดลำดับความสำคัญของความรู้เหล่านั้น
     2. การสร้างและแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
    3. การจัดความรู้ให้เป็ นระบบ เพื่อให้การเก็บรวบรวม การค้นหาการนำไปใช้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว และนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์
    4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน
    5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้ เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Webboard ,บอร์ดประชาสัมพันธ์
    6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
• Explicit Knowledge เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ
• Tacit Knowledge ระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงานการยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
    7. การเรียนรู้ บุคลากรเกิดการเรียนรู้ ซึ่งอาจสังเกตได้จากความสามารถในการทำงานดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถแก้ปัญหาในการทำงานที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และนำไปสู่การทำให้องค์กรมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพสูงในที่สุด

2.SECI Model
• เป้าหมาย เน้นคน
• มีการแลกเปลี่ยนจากคน และจะขยายความรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ผ่านกระบวนการกลุ่มผ่านทางสังคม
• S = Socialization  คือ การสร้างความรู้ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะสมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็ นการถ่ายทอดแบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
• E = Externalization คือ การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
• C = Combination  คือ การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้
• I = Internalization คือ การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง การนำไปปฏิบัติจริง
สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหา โดยการนำเอาความรู้ที่มีและความรู้ที่ได้ใหม่มาต่อยอดเพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 46

3.ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปี เตอร์เซงเก้
    Peter Senge’s ได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เรียกว่า The five disciplines (วินัย 5 ประการ) ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญ 5ประการที่จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปี เตอร์เซงเก้ (Peter M. Senge’s)  จะมุ่งเน้นไปที่คน เพราะ Peter Senge’sมีความคิดว่าการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องเริ่มการพัฒนาคนก่อน  KM > LO > IO  องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO)
• องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) คือ  องค์กรที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร เรียนรู้ในกิจกรรมทุกอย่างเป็นองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามีความเป็นพลวัตอยู่
ตลอดเวลา
• สภาพเช่นนั้น เป็นสภาพที่สมาชิกขององค์กรรวมตัวกันเรียนรู้จากการปฏิบัติงานประจำ เรียนรู้จากการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (CQI -Continuous Quality Improvement)
องค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการเป็น “องค์กรแห่งการเรียนรู้” คือ “วินัย 5 ประการ” ประกอบด้วย
  1. ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษของบุคคล (Personal Mastery)
  2. แบบแผนทางจิตใจที่มองโลกตามความเป็นจริง (Mental Model)
  3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
  4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
  5. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)ทำอย่างต่อเนื่อง จนเกิดทักษะทั้ง 5 ของ LO

4. ทฤษฎี การ์วิน (Garvin)
    การถ่ายโอนความรู้ ตลอดถึงมีการนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสะท้อนให้เกิดความรู้และความเข้าใจใหม่ ที่ใช้กับองค์กร  มีขั้นตอน 5 คือ
    1. การแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
    2. การทดลองใช้วิธีการใหม่ ๆ
    3. การเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต
    4. การเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น
    5. การถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
             ทฤษฎีของกาวินจะเป็นเน้นที่องค์กร 

5.KM Model : สคส.
ตามแนวคิดของ สคส. (วิจารณ์ พานิช)
การจัดการความรู้ (สคส.) คือ เครื่องมือโดยมีเป้ าหมายอยู่ที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  KM Model : สคส.
สคส. สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท
1. Explicit Knowledge
2. Tacit Knowledge

วีดีโอที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ KM


การอบรม "การจัดการความรู้ (KM) " ให้แก่พนักงาน กรส.ฉ.1

เทคนิคการจัดการความรู้ (KM) Decoding part1 (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 จ.เชียงใหม่) 

 

 


เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้



1. ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ

 

ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ
      ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference System) เป็น การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่กันได้ทั้ง ภาพ เสียง และข้อมูลในเวลาเดียวกัน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Video Conference System

      ในการนำระบบ Video Conference เข้ามาใช้ในธุรกิจนั้นช่วยให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ได้ทั้งทางตรง
และทางอ้อม โดยทางตรง คือ สามารถวัดผลที่ได้ออกมาในรูปของตัวเงิน คือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
ต่าง ๆส่วนในทางอ้อมนั้นวัดเป็นรูปตัวเงินได้ยาก เช่น ช่วยให้ประหยัดเวลา ช่วยอำนวยความสะดวก 
ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง ดังสามารถสรุปประโยชน์ที่ได้เป็นดังนี้
1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาประชุม, อบรม
2. สามารถทำการประชุมเพื่อวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
3. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กรมากขึ้น
4. ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทาง
ในอนาคต ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference System) ควรพิจารณานำมาใช้ในการประชุมของสพธอ.หากต้องมีการปรับเปลี่ยนสถานที่ทำ งานอยู่คนละที่กัน  เนื่องจากสะดวก ประหยัด รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง



ระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ

2.   ระบบการจัดเก็บเอกสาร เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

    E-Document (ระบบการจัดเก็บเอกสาร เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ในองค์กร) : ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรต่างๆ ที่ต่างก็หันเข้ามาให้ความสนใจในการพัฒนา และ ใช้ระบบสารสนเทศ กันมากขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บเอกสาร และ การบริหารจัดการเอกสารในองค์กร ที่หมุนเวียนกันภายในสำนักงาน (ออฟฟิศ) ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นหา ความสะดวกสบายในการส่งเอกสารไป มาภายในองค์กร และการลดต้นทุนการจัดซื้อกระดาษ หมึกพิมพ์ต่างๆ ถือว่าช่วยได้มากทีเดียว
    โปรแกรมนี้มีนามว่า E-Document โปรแกรมสำหรับการจัดการ ระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อแชร์เอกสาร บริหารงานเอกสาร ที่ใช้ภายในองค์กรอย่างแท้จริง เพราะด้วยควารวดเร็ว และประสิทธิภาพของการทำงานจึงเรียกได้ว่าเป็นโปรแกรมที่ควรมีติดตั้งไว้ภาย ในองค์กรอย่างแท้จริง โปรแกรมนี้สามารถทำงานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ และทำงานบนเว็บบราวเซอร์จึงทำงานได้สะดวก และว่องไว (ขึ้นอยู่ที่ความไวของอินเตอร์เน็ตด้วยนะ)

 

ระบบการจัดเก็บเอกสาร เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

 

3.เว็บบล็อก (WebBlog)

เว็บบล็อก (WebBlog)
1. ความหมายของเว็บบล็อก (WebBlog) เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า บล็อกยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า บล็อกเกอร์
บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอ
แนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
ประเภทของเว็บบล็อก
      1. แบ่งตามลักษณะของมีเดียที่มีในบล็อกได้แก่
         1.1. Linklog บล็อกแบบนี้น่าจะเป็นบล็อกรุ่นแรก ๆ เป็นบล็อกที่รวมลิ๊งก์ที่เจ้าของบล็อกสนใจเอาไว้ ถ้าคณยังจำผู้ให้กำเนิดคำว่า บล็อกที่ชื่อ จอห์น บาจเจอร์ได้ นั่นแหล่ะครับ robotwisdom.com ของเขาคือตัวอย่างของ linklog นั่นเอง แม้ว่าจะบล็อกแบบนี้จะเป็นการรวมลิ๊งก์เท่านั้น แต่ก็ไม่เรียงเหมือนว็บไดเร็กทอรี่ เพราะเจ้าของบล็อกจะโพสต์ลิ๊งก์ของเขา 1 – 2 ลิ๊งก์ต่อโพสต์เท่านั้นครับ ใครที่อยากมีบล็อกเป็นของตนเองแต่ยังนึกไม่ออกว่าจะทำบล็อกแบบไหน linklog น่าจะเป็นการเริ่มต้นการทำบล็อกได้เป็นอย่างดี
         1.2 Photoblog ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า Photo บล็อกประเภทนี้เน้นในโพสต์ภาพถ่ายที่เจ้าของบล็อกอยากนำเสนอ และมักจะไม่เน้นที่จะเขียนข้อความมากนัก บางบล็อกเรียกได้ว่าภาพโดยเจ้าของบล็อกล้วน ๆ เลยครับ
          1.3. Vlog ย่อมาจาก Videoblog เป็นบล็อกที่รวมวิดีโอคลิปไว้ในบล็อก Vlog เป็นบล็อกที่เรียกได้ว่าเป็นบล็อกที่นิยมทำกันมากในอนาคต เพราะการเจริญเติบโตของไฮสปีด อินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ ที่ทำให้การถ่ายทอดเสียง ภาพเคลื่อนไหว movie
      2. แบ่งตามประเภทเนื้อหา ได้แก่
          2.1 บล็อกส่วนตัว(Personal Blog) นำแสนอความคิดเห็น กิจวัตรประจำวันของเจ้าของบล็อกเป็นหลัก
         2.2 บล็อกข่าว(News Blog) บล็อกที่นำเสนอข่าวเป็นหลัก
        2.3 บล็อกกลุ่ม(Collaborative Blog) เป็นบล็อกที่เขียนกันเป็นกลุ่ม เช่น blognone.com
        2.4 บล็อกการเมือง(Politic Blog) ว่าด้วยเรื่องการเมืองล้วน ๆ
        2.5 บล็อกเพื่อสิ่งแวดล้อม(Environment Blog) พูดถึงเรื่องราวของธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม
        2.6 มีเดียบล็อก(Media Blog) เป็นบล็อกที่วิเคราะห์สื่อต่างๆ สารคดีและสิ่งที่เกี่ยวกับสื่อ เช่น oknation.net/blog/black ของสุทธิชัย หยุ่น
       2.7 บล็อกบันเทิง(Entertainment Blog) บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวบันเทิงทั้งทางจอแก้ว และจอเงิน เรื่องซุบซุดารา กองถ่าย ฯลฯ
       2.8 บล็อกเพื่อการศึกษา(Educational Blog) ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะใช้บล็อกเป็นสื่อในการสอนหรือ แลกเปลี่ยนความคิดกัน
        2.9 ติวเตอร์บล็อก(Tutorial Blog) เป็นบล็อกที่นำเสนอวิธีการต่าง


 

หน้าจอของ Blog