วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทความที่เกี่ยวกับ KM

แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (KM)
1.การจัดการความรู้ (กพร.) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถแบ่งกระบวนการจัดการความรู้ได้ 7 กระบวนการ
     1. การบ่งชี้ความรู้ ค้นหาว่ามีความรู้อะไรบ้างอยู่ในองค์กร แล้วพิจารณาว่าความรู้นั้นเป็นรูปแบบใด อยู่ที่ใครหรือความรู้อะไรบ้างที่องค์กรจำเป็นต้องมี จัดลำดับความสำคัญของความรู้เหล่านั้น
     2. การสร้างและแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว
    3. การจัดความรู้ให้เป็ นระบบ เพื่อให้การเก็บรวบรวม การค้นหาการนำไปใช้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว และนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์
    4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เป็นการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน
    5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้ เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Webboard ,บอร์ดประชาสัมพันธ์
    6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
• Explicit Knowledge เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ
• Tacit Knowledge ระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงานการยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น
    7. การเรียนรู้ บุคลากรเกิดการเรียนรู้ ซึ่งอาจสังเกตได้จากความสามารถในการทำงานดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถแก้ปัญหาในการทำงานที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และนำไปสู่การทำให้องค์กรมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพสูงในที่สุด

2.SECI Model
• เป้าหมาย เน้นคน
• มีการแลกเปลี่ยนจากคน และจะขยายความรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ผ่านกระบวนการกลุ่มผ่านทางสังคม
• S = Socialization  คือ การสร้างความรู้ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์โดยการพบปะสมาคม และพูดคุยกับผู้อื่น ซึ่งจะเป็ นการถ่ายทอดแบ่งปัน ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลไปให้ผู้อื่น
• E = Externalization คือ การนำความรู้ในตัวบุคคลที่ได้นำมาพูดคุยกันถ่ายทอดออกมาให้เป็นสิ่งที่จับต้องได้หรือเป็นลายลักษณ์อักษร
• C = Combination  คือ การผสมผสานความรู้ที่ชัดแจ้งมารวมกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถนำความรู้นั้นไปใช้ในทางปฏิบัติได้
• I = Internalization คือ การนำความรู้ที่ได้มาใหม่ไปใช้ปฏิบัติหรือลงมือทำจริง การนำไปปฏิบัติจริง
สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหา โดยการนำเอาความรู้ที่มีและความรู้ที่ได้ใหม่มาต่อยอดเพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 46

3.ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปี เตอร์เซงเก้
    Peter Senge’s ได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เรียกว่า The five disciplines (วินัย 5 ประการ) ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญ 5ประการที่จะผลักดันและสนับสนุนให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ทฤษฎีการจัดการความรู้ของปี เตอร์เซงเก้ (Peter M. Senge’s)  จะมุ่งเน้นไปที่คน เพราะ Peter Senge’sมีความคิดว่าการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้จะต้องเริ่มการพัฒนาคนก่อน  KM > LO > IO  องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization : LO)
• องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) คือ  องค์กรที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร เรียนรู้ในกิจกรรมทุกอย่างเป็นองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามีความเป็นพลวัตอยู่
ตลอดเวลา
• สภาพเช่นนั้น เป็นสภาพที่สมาชิกขององค์กรรวมตัวกันเรียนรู้จากการปฏิบัติงานประจำ เรียนรู้จากการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (CQI -Continuous Quality Improvement)
องค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการเป็น “องค์กรแห่งการเรียนรู้” คือ “วินัย 5 ประการ” ประกอบด้วย
  1. ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษของบุคคล (Personal Mastery)
  2. แบบแผนทางจิตใจที่มองโลกตามความเป็นจริง (Mental Model)
  3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)
  4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
  5. การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)ทำอย่างต่อเนื่อง จนเกิดทักษะทั้ง 5 ของ LO

4. ทฤษฎี การ์วิน (Garvin)
    การถ่ายโอนความรู้ ตลอดถึงมีการนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสะท้อนให้เกิดความรู้และความเข้าใจใหม่ ที่ใช้กับองค์กร  มีขั้นตอน 5 คือ
    1. การแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
    2. การทดลองใช้วิธีการใหม่ ๆ
    3. การเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต
    4. การเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น
    5. การถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
             ทฤษฎีของกาวินจะเป็นเน้นที่องค์กร 

5.KM Model : สคส.
ตามแนวคิดของ สคส. (วิจารณ์ พานิช)
การจัดการความรู้ (สคส.) คือ เครื่องมือโดยมีเป้ าหมายอยู่ที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  KM Model : สคส.
สคส. สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท
1. Explicit Knowledge
2. Tacit Knowledge

3 ความคิดเห็น: